อาการปวดระดู (Dysmenorrhea)

อาการปวดระดูไม่ใช่โรค เป็นอาการปวดท้องน้อยขณะที่มีระดูที่เกิดจากกระบวนการอักเสบ (inflammatory process) จัดเป็นอาการสำคัญทางนรีเวช (chief complaint) ที่พบบ่อย อาจเกิดจากโรคหรือไม่ใช่โรคก็ได้ กรณีที่เป็นโรค มักพบในช่วงกลางของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ส่วนกรณีที่ไม่ใช่โรค มักพบมากในสตรีวัยรุ่น เช่น นักเรียน นักศึกษา แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ  การปวดระดูแบบปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) และอาการปวดระดูแบบทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea)                                                                          

สาเหตุการกำเนิดโรค                                                                                                        

1. การปวดระดูแบบปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) อาการไม่สัมพันธ์กับอวัยวะสืบพันธุ์ในอุ้งเชิงกราน อาการสัมพันธ์กับรอบระดูที่มีการตกไข่ เนื่องจากการหดเกร็งของมดลูกระหว่างการมีระดู ลักษณธอาการปวดเป็นแบบรีดรัดเป็นพักๆที่บริเวณท้องน้อย อาจปวดร้างไปที่เอว หลัง ต้นขาด้านหน้า มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มักเกิดหลังการมีระดูครั้งแรก 1-2 ปี อาการปวดอาจเริ่มมีขึ้น ก่อนระดู 1 -2 ชั่วโมง หรือหลังมีระดูแล้วก็ได้ สาเหตุการปวดระดูอาจเนื่องจากปัจจัยดังนี้                                                                                

- Prostaglandin (PG) ที่สร้างจากเยื่อบุโพรงมดลูกมากที่สุด ทำให้ปวดระดูแบบ Primary Dysmenorrhea มากที่สุด ถ้ามีปริมาณมาก ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบรัดตัวเป็นเวลานาน ทำให้มดลูกขาดเลือดไปเลี้ยงจนเกิดอาการปวดระดู                                                                                                                   

- ปัจจัยทางร่างกาย เชื่อว่าเกิดจากภาวะมดลูกตีบตัน ทำให้เกิดการคั่งของเลือดระดูในมดลูก มดลูกพยายามบีบรัดตัวเพื่อขับเลือดออกมา ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย การรักษาทำโดยการถ่างขยายปากมดลูกเพื่อให้ระดูไหลออกมา หรือเกิดจากเส้นเอ็นในช่องท้องหดรัดตัว ทำให้เส้นประสาทถูกกด เกิดการระคายเคืองเมื่อเกิดระดู การออกกำลังกายช่วยบรรเทาการปวดระดูได้                                                                           

- ปัจจัยทางด้านจิตใจ เชื่อว่าการขัดแย้งทางจิตใจเกี่ยวกับภาวะทางเพศ ตั้งแต่ในวัยเด็กทำให้เกิดการปวดระดูได้ เช่น การรังเกียจลักษณะทางเพศหญิงอย่างฝังใจ หรือเกิดจากพฤติกรรมการเลียนแบบ เช่น มารดาปวดระดู บุตรสาวอาจเกิดอาการเช่นกัน                                                                                                  

- ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม จะพบในสตรีที่แตกต่างกัน เช่น ความชุกและความรุนแรงของการปวดระดูของสตรีที่มีอายุมากขึ้นหรือมีบุตรหลายคนจะลดลง เนื่องจากเส้นประสาทส่วนปลายจะถูกทำลายลงเมื่อคลอดบุตร                                                                                                                   

2. อาการปวดระดูแบบทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เป็นอาการระดูที่มีพยาธิสรีรภาพของอวัยวะสืบพันธุ์ในอุ้งเชิงกราน เช่น  endometriosis การอักเสบเรื้อรังของอุ้งอวัยวะเชิงกราน อาการไม่สัมพันธ์กับการมีระดูครั้งแรก อาการปวดเริ่มมีอาการก่อนมีประจำเดือน 1 -2 สัปดาห์  ปวดตลอดเวลาแม้หมดระดูแล้ว  2-3 วัน      

การรักษาสตรีที่มีอาการปวดระดู                                                                                                  

การรักษาอาการปวดระดูชนิดปฐมภูมิจะใช้ยารับประทาน ส่วนอาการปวดแบบทุติยภูมิให้รักษาสาเหตุของโรค

1. การรักษาด้วยยา                                                                                                                

1.1 ยาต้าน Prostaglandins เป็นยาที่ช่วยลดการสร้าง Prostaglandins  ควรเริ่มกินยาเมื่อมีระดูแล้วให้รับประทานต่อเนื่องทุก  6-8 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 -3 วัน เพื่อป้องกันการสร้าง Prostaglandins ขึ้นมาใหม่ ควรให้นาน  6 เดือน ผลข้างเคียงของยา เช่น ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ปวดศีรษะ มึนงง ข้อห้ามใช้ สตรีที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ หรือแพ้ยาในกลุ่มนี้                                                                                

1.2 การรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นยาที่รักษาปวดแบบปฐมภูมิส่วนใหญ่ ได้แก่ ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม หาง่าย สะดวก ราคาถูก ผลข้างเคียงน้อย โดยระงับการตกไข่ ไม่มีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนยาว เช่น กระดูกพรุน เป็นต้น                                                                                                        

2. การรักษาโดยไม่ใช้ยา                                                                                                           

2.1 การรักษาโดยการใช้ความร้อน มีการศึกษาการใช้ถุงน้ำร้อนอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ประคบบริเวณท้องน้อย โดยเปรียบเทียบกับการให้ยา Ibuprofen และ paracetamol พบว่าประสิทธิภาพในการลดอาการปวดได้ดีเทียบเท่ากับยา Ibuprofen และดีกว่ายา paracetamol และหากให้ยา ibuprofen ร่วมกับประคบร้อนจะช่วยลดระยะเวลาที่จะทำให้หายปวดได้                                                                              

2.2 การออกกำลังกายโดยเฉพาะการเล่นโยคะ อาหารไขมันต่ำ มีผักมาก มีวิตามิน E วิตามิน B1 วิตามิน D3 มีส่วนช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ นอกจากนี้การปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมและจิตใจของผู้ป่วยยังช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น                                                                                            

2.3 การรักษาโดยการฝังเข็มยังมีข้อมูลการศึกษาน้อย จากการศึกษาพบว่าสามารลดอาการปวดประจำเดือนได้ แต่ข้อมูลยังมีไม่มากเพียงพอที่จะยืนยันความปลอดภัยได้ การใช้สมุนไพรจีนก็เช่นกันสามารลดอาการปวดประจำเดือนได้ แต่ข้อมูลยังมีไม่มากเพียงพอ                                                                                  

2.4 การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (Transcutaneous electrical nerve stimulation ; TENS ) ทำให้เพิ่ม pain threshold ในขณะ uterine hypoxia หรือ hypercontraction และยังเพิ่ม endorphins ในร่างกาย แต่ไม่ได้มีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก ประสิทธิภาพต่ำกว่าการรักษาโดยการใช้ยา มักใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง (มากกว่า 6 เดือน) และใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการใช้ยา                                         

Comments

Popular posts from this blog

Menopause: วัยหมดประจำเดือน